พระยาพิชัยดาบหัก แร่น้ำพี้ องค์ใหญ่
เข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ
ภายหลังพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือ ออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า " พระยาพิชัยดาบหัก "
ชาติภูมิ
พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดในปี พ.ศ. 2284 ที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ์ มีพี่น้อง 4 คน แต่เสียชีวิตไป 3 คน บิดามารดาไม่ปรากฏนาม
วัยเยาว์
เด็กชายจ้อยมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาได้พร่ำสอนเสมอ ถ้าจะ ชกมวยให้เก่งต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย จ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้จนแตกฉานเพราะเป็นคนขยันและเอาใจใส่ในตำราเรียนคอยรับใช้อาจารย์ และซ้อมมวย ไปด้วย ทั้งหมัด เข่า ศอก และสามารถเตะได้สูงถึง 4 ศอก ในขณะที่เป็นเด็กวัดนั้นเขามักจะถูกกลั่นแกล้งจากเด็กที่โตกว่าเสมอ แต่ในระยะหลังเขาก็สามารถปราบเด็กวัดได้ทุกคนด้วยชั้นเชิงมวย
ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อเฉิด) มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา เฉิดกับพวกมักหาทางทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือโดยมิได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัด ที่วัดบ้านแก่ง จ้อย ได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่งชื่อ เที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี ครูเที่ยงรักนายทองดีมากและมักเรียกนายทองดีว่านายทองดี ฟันขาว (เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูดังคนสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวยช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉานายทองดีมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา นายทองดี ฟันขาว เห็นว่าอยู่บ้านแก่งต่อไปคงลำบาก ประกอบ ครูเที่ยงก็ถ่ายทอดวิชามวยให้จบหมดสิ้นแล้วจึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป
ชื่อเสียงเลื่องลือ
เมื่อเดินถึงบางโพได้เข้าพักที่วัดวังเตาหม้อ (ปัจจุบันคือวัดท่าถนน) พอดีกับมีการแสดงงิ้ว จึงอยู่ดูอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน นายทองดี ฟันขาว สนใจงิ้วแสดง ท่าทางหกคะเมน จึงจดจำไปฝึกหัดจนจดจำท่างิ้วได้ทั้งหมดสามารถกระโดดข้ามศีรษะคนยืนได้อย่างสบายจากนั้นก็ลาพระสงฆ์วัดวังเตาหม้อขึ้น ไปท่าเสา ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ครูเมฆ ซึ่งมีชื่อเสียงในการสอนมวยมาก ครูเมฆรักนิสัยใจคอจึงถ่ายทอดวิชาการชกมวยให้จนหมดสิ้น[1] ขณะนั้นนายทองดี ฟันขาว อายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีโอกาสชกมวยในงานไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ กับนายถึก ศิษย์เอกของครูนิล นายถึกไม่สามารถป้องกันได้ ถูกเตะสลบไปนาน ประมาณ 10 นาที ครูนิลอับอายมากจึงท้าครูเมฆชกกัน นายทองดี ฟันขาว ได้กราบอ้อนวอนขอร้อง ขอชกแทนครูเมฆ และได้ตลุยเตะต่อยจนครูนิลฟันหลุดถึง 4 ซี่ เลือดเต็มปากสลบอยู่เป็นเวลานาน ชื่อเสียงนายทองดี ฟันขาว กระฉ่อนไปทั่วเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง นายทองดีอยู่กับครูเมฆประมาณ 2 ปี ก็ขอลาไปศึกษา การฟันดาบ ที่เมืองสวรรคโลก ด้วยความฉลาดมีไหวพริบ เขาใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็เรียนฟันดาบสำเร็จเป็นที่พิศวงต่อครูผู้สอนยิ่งนัก หลังจากนั้น ก็ไปเที่ยวเมืองสุโขทัยและเมืองตากระหว่างทางได้รับศิษย์ไว้ 1 คน ชื่อบุญเกิด ครั้งที่บุญเกิดถูกเสือคาบไปนั้น ทองดีได้ช่วยบุญเกิดไว้โดยการแทงมีดที่ปากเสือ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว
รับราชการ ทหารเอกพระเจ้าตาก
เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (พระเจ้าตากสิน) ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างไกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม กรุงศรีอยุธยา
พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ พระเจ้าตากสินได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว พระเจ้าตากสินขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์
ความเป็นมาของชื่อ "พระยาพิชัยดาบหัก"
ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน พระเจ้าตากพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อพระเจ้าตากสินเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย
ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "การศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316)
ถวายชีวิตเป็นราชพลี
หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหารซึ่งพระปรางคนี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน
พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญรวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป
ต้นตระกูล วิชัยขัทคะ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้พระราชทานนามสกุลของตระกูลพระยาพิชัยดาบหักว่า วิชัยขัทคะ อ่านว่า ( วิ-ไช-ขัด-ทะ-คะ ) ซึ่งแปลโดยอนุโลมว่า ดาบวิเศษ [2]
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความ องอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และนายเวทน์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการขณะนั้นได้พร้อมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานไว้หน้าศาลากลางจังหวัด และทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นในระหว่างวันที่ 7 - 13 มกราคม ของทุกปี จะจัดงานเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของท่าน ถือเป็นงานประจำปี เรียกชื่องานว่า "งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด"
และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" เป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และ "พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย" ที่ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลองสนามรบ และวิถีชีวิตผู้คนเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณ
1. หินเพชรเงินทองนาค ความเชื่อให้โชคลาภร่ำรวยเงินทอง
2. ไม้พญางิ้วดำ ความเชื่อเด่นทางด้านมหาอุดคงกระพัน คลาดแคล้วโชคลาภเมตตามหานิยมป้องกันคุณไสย์มนต์ดำ
สอบถามทางร้านวรันณ์ธร เพื่อเลือกพระยาพิชัยดาบหัก
คาถาบูชาท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก
วันทิตะวา ราชาวิยะเต นะโม นมัสการ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก เอหิราชา เอหิวิญญาณัง ขอเชิญดวงวิญญาณในสรวงสวรรค์ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก จงมาประสาท ประสิทธิ์พระพรชัยให้ศิษย์และลูกหลานทุกคน จงมีแต่ความสุข ความเจริญ มีโชค มีลาภ มีความสำเร็จ ปราศจากทุกข์โทษโพยภัยพระยันต์อันตรายทั้งปวง เอหิมะมะ มามา มาเรโส ธายะ มาเรโส ธายะ ประสิทธิ์ ภะวันตุเม
หมายเหตุ ถ้าไหว้ปกติจุดธูป 9 ดอก ถ้าบนบานศาลกล่าวจุดธูป 16 ดอก