หมดแล้ว พระพุทธชินราช องค์เล็กหน้าตัก 1 นิ้วสูง 3 นิ้ว
หมดแล้ว
พระพุทธชินราช
องค์เล็กหน้าตัก 1 นิ้วสูง 3 นิ้ว
หล่อจากแร่น้ำพี้แราศักดิ์สิทธิ์ของ จ.อุตรดิตถ์
พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราชจำลอง ขึ้นมาแทน
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราชนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ พระองค์
ประวัติพระพุทธชินราช
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล จึงมีตำนาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2409 โดยอาศัยหลักฐานจากพงศาวดารเหนือ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดียุติได้ ดังนี้ คือ
พระพุทธชินราช สร้างโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) กษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในตำนานพระพุทธชินราชฯ เรียกพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยสร้างพระพุทธรูปพร้อมกัน 3 องค์ เพื่อประดิษฐานในพระวิหารทิศ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 1900 ในตำนานพระพุทธชินราชฯ มีชื่อช่างหล่อพระพุทธชินราชเป็นช่างพราหมณ์ฝีมือดี 5 นาย คือ บาอินท์ 1 บาพรหม 1 บาพิษณุ 1 บาราชสังข์ 1 บาราชกุศล 1
ตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชา (พญาลิไท) กษัตริย์องค์ที่ 4 ในพระราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัย เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ. 1900 ทรงโปรดให้ช่างสวรรคโลก ช่างเชียงแสน และช่างหริภุญไชย สมทบกับช่างกรุงศรีสัชนาลัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ได้แก่ พระศรีศาสดา พระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ จวบจนถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะจุลศักราช 717 ราว พ.ศ. 1898 ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ เมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว และทำการแกะพิมพ์ออกปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา องค์พระสมบูรณ์สวยงามดี ส่วนพระพุทธชินราชนั้นได้หล่อถึง 3 ครั้งก็ไม่เสร็จเป็นองค์พระได้ กล่าวคือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกจึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง ครั้งนั้นจึงร้อนถึงอาสน์พระอินทร์เจ้าจึงนฤมิตเป็นตาปะขาวลงมาช่วยทำรูปพระ คุมพิมพ์ปั้นเบ้า ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองก็แล่นรอบคอบบริบูรณ์ทุกประการหาที่ติมิได้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสให้หา "ตาปะขาว" ผู้นั้น แต่ตาปะขาวได้หายตัวไปแล้ว หมู่บ้านและวัดที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายและวัดตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของตาปะขาว เล่ากันว่ามีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นไว้ ณ พื้นดินเบื่องล่างไว้เป็นที่ระลึก เรียกว่า "ศาลาช่อฟ้า" ตราบจนทุกวันนี้
คาถา บทสวด บูชาพระพุทธชินราช
อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ
บูชาพระพุทธชินราช องค์เล็กหน้าตัก 1 นิ้วสูง 3 นิ้ว ของร้านวรันณ์ธรนี้ สร้างจากมวลสาร 9 อย่าง ของขลังหายากมีให้บูชาที่ร้านวรันณ์ธร แห่งเดียวใน จ.อุตรดิตถ์
1. หินเพชรเงินทองนาค ความเชื่อให้โชคลาภร่ำรวยเงินทอง
2. ไม้พญางิ้วดำ ความเชื่อเด่นทางด้านมหาอุดคงกระพัน คลาดแคล้วโชคลาภเมตตามหานิยมป้องกันคุณไสย์มนต์ดำ
3. ไม้กลายเป็นหิน ความเชื่อ มีตบะเดชะทางด้านอำนาจ แคล้วคลาด
ปลอดภัย ความเมตตา และโชคลาภ
4. เพชรหน้าทั่ง ความเชื่อให้โชคลาภเด่นทางค้าขายป้องกันภัยต่างๆ
5. แก้วโป่งข่าม ความเชื่อป้องกันภัยคุณไสย์มนต์ดำเปลี่ยนจากสิ่งร้ายกลายเป็นดี
6. แร่ดูดทรัพย์ ความเชื่อดูดโชคลาภทรัพย์สินเงินทองความร่ำรวยมาให้แก่ผู้ครอบครอง
7. ไหลดำไหลเขียว ความเชื่อพลิกจากร้ายกลายเป็นดีความเจริญมั่นคงก้าวหน้า
ดูดพิษแมลงได้ แก้ของร้อนเป็นสิริมงคลแก่ผู้ครอบครอง
8. รังปลวกกลายเป็นหิน ความเชื่อให้คุณทางด้านสะสมทรัพย์สินเงินทองให้พอกพูนขึ้น
9. แร่เหล็กน้ำพี้ ความเชื่อล้างอาถรรพ์ป้องกันภูตผีปีศาจมนต์ดำต่างๆ
ราคาบูชาพระพุทธชินราช หน้าตัก 1 นิ้วสูง 3 นิ้ว
พระพุทธชินราช หน้าตัก 1 นิ้วสูง 3 นิ้ว
สีแร่น้ำพี้ (สีน้ำตาล) บูชาองค์ละ 79 บาท
สีทองคำบูชาองค์ละ 99 บาท
สีนาคราคาองค์ละ 99 บาท
การันตีว่า วัตถุมงคลที่ร้านวรันณ์ธรสร้างท่านลูกค้าบูชาไปได้วัตถุมงคลที่ดีอย่างแน่นอน เพราะสร้างจากมวลสารของขลังหายาก มวลสารศักดิ์สิทธิ์9อย่าง รวบรวมจากทั่วประเทศ
สอบถามทางร้านวรันณ์ธร เพื่อเลือกพระพุทธชินราช องค์เล็ก
สอบถามทางร้านวรันณ์ธร เพื่อเลือกพระพุทธชินราช องค์เล็ก
ต้องการบูชาพระพุทธชินราช องค์เล็ก
สีใด โปรดระบุ คลิกที่นี่