หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์ หน้าตัก5นิ้ว แบบที่ 1
หลวงพ่อเพ็ชร
หน้าตัก 5 นิ้ว
วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์
หล่อจากแร่ศักดิ์สิทธิ์ แร่น้ำพี้
จังหวัดอุตรดิตถ์

วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์
หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปีเมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านอุโบสถร้างแห่งหนึ่ง[[ตามแผนที่ระวาง ๔ ฏ ๑:๔ooo แสดงเขต ที่ตั้งพระอุโบสถเก่า (ชำรุด) (หลวงพ่อเพชร) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ยืนยันถึงความมีตัวตนของขอบเขตสถานที่ว่าอุโบสถเก่าที่มีการตั้งป้ายเก่าของอุโบสถที่ระบุปีที่สร้าง พ.ศ. ๒o๑๙ ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันตามการทำบันทึกส่งมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ ๑๙๙ เล่ม ๒ ข. หน้า ๔๙ เลขที่ดิน ๔ โดยนางหนุน แก้วกุลศรี ให้แก่วัดไผ่ล้อมเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2543 มีพยายานรับรู้คือคณะกรรมการบริหารชุมชนอนุรักษ์พิทักษ์พระพุทธสถานอุโบสถเก่า มีหลวงตาเตชะปัญโญ (นามเดิม นายสังเวียน คงนุ่น)เป็นผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 และยังมีหลักฐานสำคัญคือจดหมายสอบถามความจากกรมราชเลขานุการ พระราชทานมา วันที่ ๖ มิ.ย. ร.ศ.๑o๙ รับวันที่ 30 พ.ค. ร.ศ.๑๑๙ กรมหลวงดำรง ที่ ๑๑๗ ลงวันที่ ๒๙ พ.ค. ร.ศ. ๑๑๙ ข้อความเขียนว่า ได้มีโทรเลขถามตำนานพระขัดสมาธิเพดวัดเตาหม้อ ได้ความเดิมอยู่วัดวัดไผ่ล้อม เจ้าอธิการวัดหมอนใหม่อาราธนามาไว้ที่วัดเตาหม้อ จนถึงฟ้องร้องกันลงมาที่เมืองพิไชยตัดสินว่าความบำรุงรักษาวัดเดิมสู้วัดเตาหม้อไม่ได้จึงให้คงอยู่วัดเตาหม้อตลอดมา และพระยาศรีสุริยาราชวรานุวัตรได้พบพระขัดสมาธิเพดน่าตัก ๒ ศอก ๖ นิ้ว จะได้ส่งลงมาทูลเกล้า ถวายในเร็ว ๆ นี้ ทั้งมวลจึงเป็นหลักฐานที่จะแสดงได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งเดิมขององค์หลวงพ่อเพ็ชร]] พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้
ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพ็ชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพ็ชรอัญเชิญไปวัดเบญจมบพิตร
ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพ็ชรไปจากวัดลังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
อัญเชิญกลับมาจังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพ็ชร " ว่า
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพ็ชร " ว่า
"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้ วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. 129 หลวงนฤบาล ( จะพันยา ) อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน "เหตุที่มีรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพ็ชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น
เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการบูชาได้สะดวก
ปัจจุบันหลวงพ่อเพ็ชรประดิษฐานอยู่ในวิหารทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ
บูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์ หน้าตัก5นิ้ว ของร้านวรันณ์ธรนี้ สร้างจากมวลสาร 9 อย่าง ของขลังหายากมีให้บูชาที่ร้านวรันณ์ธร แห่งเดียวใน จ.อุตรดิตถ์

1. หินเพชรเงินทองนาค ความเชื่อให้โชคลาภร่ำรวยเงินทอง

2. ไม้พญางิ้วดำ ความเชื่อเด่นทางด้านมหาอุดคงกระพัน คลาดแคล้วโชคลาภเมตตามหานิยมป้องกันคุณไสย์มนต์ดำ

3. ไม้กลายเป็นหิน ความเชื่อ มีตบะเดชะทางด้านอำนาจ แคล้วคลาด
ปลอดภัย ความเมตตา และโชคลาภ

4. เพชรหน้าทั่ง ความเชื่อให้โชคลาภเด่นทางค้าขายป้องกันภัยต่างๆ

5. แก้วโป่งข่าม ความเชื่อป้องกันภัยคุณไสย์มนต์ดำเปลี่ยนจากสิ่งร้ายกลายเป็นดี

6. แร่ดูดทรัพย์ ความเชื่อดูดโชคลาภทรัพย์สินเงินทองความร่ำรวยมาให้แก่ผู้ครอบครอง

7. ไหลดำไหลเขียว ความเชื่อพลิกจากร้ายกลายเป็นดีความเจริญมั่นคงก้าวหน้า
ดูดพิษแมลงได้ แก้ของร้อนเป็นสิริมงคลแก่ผู้ครอบครอง

8. รังปลวกกลายเป็นหิน ความเชื่อให้คุณทางด้านสะสมทรัพย์สินเงินทองให้พอกพูนขึ้น

9. แร่เหล็กน้ำพี้ ความเชื่อล้างอาถรรพ์ป้องกันภูตผีปีศาจมนต์ดำต่างๆ
ราคาบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์ หน้าตัก5นิ้ว
องค์สีน้ำตาลสีแร่ธรรมชาติ
ราคาบูชาองค์ละ 899 บาท

ทำสีทองคำทั้งองค์หรือสีนาคทั้งองค์
ราคาบูชาองค์ละ 1,099 บาท
การันตีว่า วัตถุมงคลที่ร้านวรันณ์ธรสร้างท่านลูกค้าบูชาไปได้วัตถุมงคลที่ดีอย่างแน่นอน เพราะสร้างจากมวลสารของขลังหายาก มวลสารศักดิ์สิทธิ์9อย่าง รวบรวมจากทั่วประเทศ
สอบถามทางร้านวรันณ์ธร เพื่อเลือกหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์ หน้าตัก5นิ้ว
สอบถามทางร้านวรันณ์ธร เพื่อเลือกหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์ หน้าตัก5นิ้ว