ชุดเบญจภาคี มวลสารศักดิ์สิทธิ์
1. พระสมเด็จ วัดระฆัง ที่สร้างโดย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พฺรหฺมรังษี เป็นตัวแทนยุค รัตนโกสินทร์
2. พระซุ้ม ก. หรือ กำแพงเม็ดขนุน ทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นตัวแทนยุค สุโขทัย
3. พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัด พิษณุโลก เป็นตัวแทนยุค อยุธยา-พระพิษณุโลกสองแคว
4. พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนยุค อู่ทอง-สุพรรณภูมิ
5. พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นตัวแทนยุค ลพบุรี
เราอาราธนามาเข้าชุด 1. สมเด็จ อยู่ตรงกลาง 2. พระนางพญา อยู่ล่างซ้าย 3. พระซุ้ม ก อยู่ล่างขวา 4. พระผงสุพรรณ อยู่บนซ้าย 5.พระรอด อยู่บนขวา ดูจะสมดุลได้สัดส่วนเหมาะสมเป็นที่สุด
คราวนี้เรามากล่าวถึงพระเบญจภาคีทีละองค์ พอได้รู้จักเอาไว้และจะคุยให้ละเอียดในโอกาสต่อไป
นางพญา พระสันนิฐานว่าสร้างโดย สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี องค์เอกอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระมหา ธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของสมเด็จพระนเรศวร ประมาณ พ.ศ. 2100 เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เมือง พระพิษณุโลกสองแคว บรรจุกรุที่วัดนางพญา และกรุแตกครั้งแรกเมื่อปี 2442 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 โดยประมาณว่าพระในกรุมีประมาณ 84,000 องค์ ได้แบ่งฝากกรุในกรุงเทพฯ และต่างวัดอื่นๆ อีกมาก และยังพบปะปลายในกรุอื่นๆในจังหวัดพิษณุโลก ราคาเช่าหาไม่ใช่ถูก อย่างน้อยก็หลักแสนกลางๆ พอหาได้
พระซุ้ม ก. ผู้สร้างไม่ปรากฏแต่สันนิฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย สร้างเมื่อครั้งครองเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ. 1900 พบพระซุ้ม ก. จำนวนมากเกลื่อนทุ่งเศรษฐี เนื่องจากในเขตทุ่งเศรษฐีพบทุกกรุ แต่ไม่ได้อยู่เป็นกรุกลับแตกกระจายเกลื่อน สันนิฐานว่าเดิมน่าจะอยู่ในกรุ แต่ถูกชาวบ้านรื้อค้นหาพระ หรือสมบัติมีค่า เห็นพระเนื้อดินไม่สนใจ เพราะมีจำนวนมากและพระสกุลกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินมีเป็น ร้อยๆ พิมพ์ นิยมทุกพิมพ์ แต่ที่นิยมที่สุดแพงที่สุด ก็คือ พระกำแพงซุ้ม ก.เป็นพระเนื้อดิน ละเอียดหนึกนุ่มผสมว่าน ปรากฏเม็ดและเอียดและแร่ว่านดอกมะขาม
พระผงสุพรรณ ผู้สร้าง สันนิฐานว่าเป็นกษัตริย์ในราชวงค์ สุพรรณภูมิ น่าจะเป็นสมเด็จ พระบรมราชาธิราช ที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2091 ในจารึกแผ่นทองที่พบที่เจดีย์ใหญ่วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ ระบุว่าได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระฤาษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธานในการสร้าง ต่อมาในปี 2456 ในสมัย รัชกาลที่ 6 มีคนลอบขุดกรุนี้ได้สมบัติไปไม่น้อยรวมถึง จารึกแผ่นทองอีกจำนวนมาก
พระสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขณะนั้นได้สั่งให้เปิดกรุอย่างเป็นทางการ และนำพระพิมพ์และจารึกแผ่นทองที่เหลือจำนานหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธคุณ เน้นด้านเมตตาบารมี การเป็นผู้นำน่าเกรงขาม การมีโชค ความมีเสน่ห์ ขจัดทุกข์ความสงบหนักแน่น
พุทธคุณ เน้นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน อุดมด้วยโภคทรัพย์ ร่ำรวยทรัพย์ แคล้วคลาด
พระรอด ผู้สร้างเป็นพระราชธิดากษัตริย์แห่ง ลวปุระอาณาจักรลพบุรีที่ถูกอัญเชิญไป สร้างเมืองลำพูน คือพระนางจามเทวี ประมาณ พ.ศ. 1200 โดยพระนางได้มอบให้ฤาษีนารอดเป็นประธานในการสร้าง พระรอด กรุวัดมหาวัน พบที่กรุนี้กรุเดียวจำนวนไม่มาก สันนิฐานว่าน่าจะสร้างแล้วแจกทหารติดตัวไปรบ เสร็จศึกกลับมาจึงนำมาลงกรุ
เหล็กน้ำพี้ จากตำราพิชัยสงคราม กล่าวไว้ดังนี้
(ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ )
เจ้าอาวาส วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
อายุ 82 พรรษา 60
รูปภาพประกอบข่าวเพิ่มเติม
รูปบางรูปถูกบีบย่อให้มีขนาดเล็ก คลิกที่รูปภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่